banner-privacy-policy

หน้าหลัก > นโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

1. หลักการและวัตถุประสงค์
2. ขอบเขตการบังคับใช้
3. คำจำกัดความ
4. บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ
5. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
6. การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
7. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล 
8. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
9. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
10. การรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
11. บทลงโทษ
12. การทบทวนและปรับปรุงนโยบาย
13. ช่องทางการติดต่อ


1. หลักการและวัตถุประสงค์
บริษัท ไทย ออโต้ คอนเวอชั่น จำกัด (“บริษัทฯ”) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทฯ จึงได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) เพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทฯ เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานสากลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และมาตรการในการบริหารจัดการ การละเมิดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม

2. ขอบเขตการบังคับใช้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ฉบับนี้ มีขอบเขตการบังคับใช้ครอบคลุมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดที่ดำเนินการโดยบริษัทฯ รวมถึงบุคคลใด ๆ ซึ่งล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ และตามกรอบที่กฎหมายกำหนด
สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ให้บริษัทฯ สามารถเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม โดยการเปิดเผยและการดำเนินการอื่นที่ไม่ใช่การเก็บรวบรวมและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

3. คำจำกัดความ
“นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า นโยบาย ที่บริษัทฯ จัดทำเพื่อแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงการประมวลผลข้อมูลของบริษัทและรายละเอียดต่างๆตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดไว้
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ ตัวอย่าง ข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล
1.) ชื่อ-นามสกุล
2.) เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต
3.) ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์
“ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” (Sensitive data) หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว
1.) เชื้อชาติ
2.) เผ่าพันธ์
3.) ความคิดเห็นทางการเมือง
4.) ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา ปรัชา
5.) พฤติกรรมทางเพศ
“การประมวลผล” หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (Data Subject) หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” (Data Controller) หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” (Data Processor) หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

4. บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ
4.1 บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของบริษัทฯตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในกรณีที่บริษัทฯ เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน การสูญหาย การเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีอำนาจหรือโดยขัดต่อกฎหมาย รวมถึงทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็น หรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป
  • ดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีอำนาจหรือโดยขัดต่อกฎหมาย
  • จัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูล ส่วนบุคคลตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 กำหนด
  • แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยไม่ชักช้า
  • บันทึกรายการตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  • จัดให้มีข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่มีการมอบหมายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบ
  • จัดให้มีและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งที่ได้รับจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น เว้นแต่คำสั่งนั้นขัดต่อกฎหมายหรือบทบัญญัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีอำนาจหรือโดยขัดต่อกฎหมาย
  • แจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  • จัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบ
  • จัดให้มีและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

4.2 บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ

บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ
ผู้บริหาร
  • ปฏิบัติ สอบทาน และติดตามการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้างให้เป็นไปตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด
พนักงาน และลูกจ้าง
  • ปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ให้คำแนะนำ บริหารจัดการ และตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  • รายงานไปยังผู้บริหารสูงสุด เมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่
  • ประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชักช้าตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนดโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
  • จัดทำและทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนล่วงรู้หรือได้มาเนื่องจาก การปฏิบัติหน้าที่
  • ปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจอื่นโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย


5. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลเฉพาะบุคคล ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัว หรือความสนใจส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว โดยมีแหล่งที่มา และหลักการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้

5.1 แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ อาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจาก 2 ช่องทาง ดังนี้
5.1.1 เก็บรวบรวมโดยตรงจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลผ่านแบบฟอร์มการสมัครงาน การเข้ามาติดต่อ ทั้งในรูปแบบกระดาษและรูปแบบออนไลน์ การตอบแบบสอบถาม (Survey) ของบริษัทฯ
5.1.2 เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง เช่น การสืบค้นข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบเว็บไซต์ หรือการสอบถามจากบุคคลที่สาม โดยบริษัทฯ จะแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่บริษัทฯ เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งดังกล่าว รวมถึงจะดำเนินการขอความยินยอมในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมหรือแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น
• ข้อมูลเฉพาะบุคคล : ชื่อ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขหนังสือเดินทาง หรือเอกสารราชการอื่น ๆ ที่สามารถระบุตัวตนได้
• ข้อมูลสำหรับการติดต่อ : ที่อยู่ อีเมล์ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร
• ข้อมูลประวัติการทำงาน : สถานะวิชาชีพ ตำแหน่งงาน
• ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้งานเว็บไซต์ : Username และ password
• ข้อมูลเกี่ยวกับคู่ค้าทางธุรกิจ
• ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นบริษัท หรือพันธมิตรบริษัท
• ข้อมูลอ่อนไหว : ข้อมูลศาสนา ข้อมูลสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม
• ข้อมูลอุปกรณ์ และข้อมูลตำแหน่งของอุปกรณ์ เช่น ระบบจีพีเอส
• ข้อมูลภาพวิดีทัศน์กล้องวงจรปิด
• ข้อมูลการเข้ามาติดต่อกับบริษัท

5.2 หลักการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
5.2.1 บริษัทฯ จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เท่านั้น ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจมีวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไปตามแต่กรณี เช่น
• เพื่อการเข้าทำสัญญาและปฏิบัติตามสัญญาระหว่างบริษัทฯ กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
• เพื่อยืนยันตัวตนหรือตรวจสอบบุคคลก่อนจะเข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้าทำสัญญากับบริษัทฯ
• เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ เช่น การฝึกอบรม
• เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ อาทิ การจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย การจ่ายประกันสังคม การยื่นเรื่องด้านการประกันกลุ่ม
• เพื่อให้ข้อมูลแก่หน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนด หรือ ตามที่หน่วยงานของรัฐร้องขอ
• เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบต่างๆการวิเคราะห์และจัดทำเอกสารตามคำร้องขอของหน่วยงาน หรือ องค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศาล
• เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการภายในของบริษัทฯ เช่น เพื่อการจ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทนต่าง ๆ แก่พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ฝึกหัดงานของบริษัทฯ เพื่อการเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท เพื่อการบริหารจัดการบุคลากรภายในของบริษัท และการมอบสวัสดิการแก่พนักงาน ลูกจ้างของบริษัทฯ

5.2.2 ในกรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญาหรือมีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเข้าทำสัญญา หรือต้องให้ข้อมูลด้วยประการอื่นใด หากเจ้าของข้อมูลไม่ให้ข้อมูลเช่นว่านั้น อาจส่งผลให้ธุรกรรมหรือกิจกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกระงับ หรือหยุดลงชั่วคราว จนกว่าบริษัทฯจะได้รับข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นได้ หรือ กฎหมายกำหนดห้ามมิให้มีการดำเนินธุรกรรมหรือกิจกรรมนั้นอีกต่อไป เป็นต้น

5.2.3    บริษัทฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน หรือในขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ บริษัทฯ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

  1. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติ โดยบริษัทฯ จะจัดให้มีมาตรการป้องกันเหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. เพื่อป้องกัน หรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  3. เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญา
  4. เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบหมายให้แก่บริษัทฯ
  5. เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทฯ หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  6. เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2559 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น

5.2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว บริษัทฯ จะต้องขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน หรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนดโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

6. การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์และหลักการดำเนินการที่สอดคล้องตามข้อ 5.2 หลักการในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นให้แก่หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกภายใต้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เว้นแต่จะได้กระทำภายในกรอบที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลอาจถูกเปิดเผยให้แก่บุคคลภายนอก องค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ ดังต่อไปนี้
1. คู่สัญญา ผู้ให้บริการ และพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ
2. ธนาคาร
3. หน่วยงานของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น สำนักงานประกันสังคม กรมสรรพากร กรมบังคับคดี ศาล
4. หน่วยงาน หรือ องค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรืออาจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ฯ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย

7. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาดังต่อไปนี้
7.1 ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประมวลรัษฎากร
7.2 ในกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้โดยเฉพาะ บริษัทฯ จะกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บตามความจำเป็นที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานของบริษัทฯ
เมื่อพ้นระยะเวลาการเก็บรักษาดังกล่าว บริษัทฯ จะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้

8. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
ในกรณีที่บริษัทฯ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ บริษัทฯ จะดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางดังกล่าวมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ประเทศปลายทางไม่มีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนดโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

9. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อทำให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมั่นใจว่าสามารถการใช้สิทธิดังต่อไปนี้ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ให้ความยินยอมกับบริษัทฯ ได้ ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอยู่กับบริษัทฯ
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและขอให้บริษัทฯ ทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงขอให้บริษัทฯ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอมต่อบริษัทฯ ให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้บริษัทฯ แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการขอให้บริษัทฯ ทำการลบข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ไว้กับบริษัทฯ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น หรือ ตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object): เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเหตุบางประการได้
อย่างไรก็ดีบริษัทฯอาจปฏิเสธการใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
บริษัทฯ จะจัดให้มีช่องทางเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถติดต่อมายังบริษัทฯ ผ่านช่องทางการติดต่อที่ระบุไว้ในนโยบายฉบับนี้ เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิข้างต้นได้ ในกรณีที่บริษัทฯ ปฏิเสธคำร้องขอข้างต้น บริษัทฯ จะแจ้งเหตุผลของการปฏิเสธให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่บริษัทฯ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ลูกจ้างหรือ ผู้รับจ้างของบริษัท ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

10. การรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ กำหนดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย การเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไข หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีอำนาจหรือโดยขัดต่อกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและวิธีปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของบริษัทฯ
ในกรณีที่บริษัทฯ ได้ว่าจ้างหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกให้ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ จะกำหนดให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดังกล่าว เก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับ และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงป้องกันมิให้นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย เพื่อการอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามขอบเขตการว่าจ้าง หรือขัดต่อกฎหมาย

11. บทลงโทษ
ในกรณีที่ผู้บริหารและพนักงานกระทำการใดๆ ที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม ผู้บริหารและพนักงานจะถูกพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของบริษัทและบทลงโทษตามมาตรา พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

12. การทบทวนและปรับปรุงนโยบาย
บริษัทฯจะจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายฉบับนี้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ

13. ช่องทางการติดต่อ
แผนกทรัพยากรบุคคล
บริษัท ไทย ออโต้ คอนเวอชั่น จำกัด
159 หมู่ 16 ถ.เทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10570
โทร. 0-2313-1371-9 ต่อ 116, 173